Gแคนน่อน
f71.jpg

F71 G-Cannon

First appearance Mobile Suit Gundam F91
Designer Kunio Okawara
Head height 14.3 m
Base weight 8.7 t Full weight 23.1 t
Armor gundarium alloy/ceramic composite
Powerplant Minovsky type ultracompact fusion reactor
Power output 3350 kW
Armaments

  • beam saber
  • vulcan gun
  • beam rifle
  • double beam gun
  • 4-barrel 130 mm machine cannon

MSที่ SNRIพัฒนาให้สหพันธ์โลกตามโครงการลดขนาด MSโดยออกแบบเป็น MSที่เน้นการยิงสนับสนุนระยะไกลตามรูปแบบของของกันแคนน่อนในสมัยสงครามหนึ่งปี และพัฒนาต่อมาจากกันดั้ม F90 แบบ S (Support) ซึ่งใช้แบ็คแพ็คติดเมกาบีมแคนน่อนแบบประทับบ่าสองกระบอก ที่มือสวมบีมแคนน่อนสี่ลำกล้องซึ่งติดมิสไซล์เป็นอาวุธเสริมด้วย F90S นั้นเมื่อเข้าประจำตำแหน่งยิงอาวุธจะยื่นขาตั้งมาจากด้านหลังเพื่อลดแรงถีบและให้เล็งได้นิ่งขึ้น SNRI นั้นใช้ข้อมูลของ F90S สร้างเครื่องต้นแบบโดยเฉพาะคือ F70 แคนน่อนกันดั้มและพัฒนาต่อมา ที่แบ็คแพ็คของแคนน่อนกันดั้มนั้นมีฮาร์ดพอยน์ซึ่งสามารถเลือกติดอาวุธประทับบ่าเป็นบีมแคนน่อนหรือมาชีนแคนน่อนแบบสามลำกล้อง ซึ่งอาวุธที่ฮาร์ดพอยน์นี้สามารถปลดทิ้งไปได้ถ้าต้องต่อสู้ในระยะประชิดแคนน่อนกันดั้มยังติดบีมเซเบอร์กับบีมไรเฟิลของเฮฟวีกันไว้และที่แขนก็มีบีมกันขนาดเล็กอยู่สองกระบอก ซึ่งแคนน่อนกันดั้มที่ออกแบบเพื่อใช้งานยิงสนับสนุนเป็นหลักนั้นทำให้มีสมรรถนะบางด้านสูงกว่า F90S แต่ก็ยังสามารถติดมิชชันแพ็คได้ตามสถานการณ์

สหพันธ์โลกนั้นได้เลือกให้แคนน่อนกันดั้มเตรียมเข้าประจำการเป็นกำลังหลัก แต่สายการผลิต MSของ SNRIนั้นยังไม่เพียงพอที่จะผลิตแคนน่อนกันดั้มได้ตามความต้องการของสหพันธ์โลก สหพันธ์จึงได้ว่าจ้างให้บริษัทแอนาไฮม์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่ผลิตให้ SNRIจึงได้แก้ไขดีไซน์ของแคนน่อนกันดั้มให้สามารถดัดแปลงสายการผลิตเฮฟวีกันของแอนาไฮม์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตลงไปอีกและปิดบังเทคโนโลยีบางอย่างซึ่งเป็นความลับของบริษัท ทำให้สมรรถนะของ Gแคนน่อนด้อยกว่าแคนน่อนกันดั้มแต่ก็ยังนับว่าสูงกว่า MSของสหพันธ์รุ่นก่อนๆมาก เตาปฏิกรณ์และท่อขับดันของ Gแคนน่อนนั้นเป็นแบบเดียวกับของเฮฟวีกันแต่เนืองจากตัดการทำงานที่ไม่จำเป็นสำหรับ MSแบบยิงสนับสนุนออกไปจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า ปืนประทับบ่าแบบมาตรฐานของ Gแคนน่อนนั้นเป็นมาชีนแคนน่อนขนาดใหญ่แบบสี่ลำกล้องสองกระบอกและก็ยังคงสามารถเปลี่ยนอาวุธได้ตามการใช้งานอย่างปืนใหญ่ 200 มม. หรือบีมแคนน่อน รูปแบบที่ซับซ้อนที่สุดของ Gแคนน่อนก็คือรุ่นติดอาวุธหนักซึ่งเปลี่ยนมาชีนแคนน่อนที่ข้างขวาเป็นบีมแคนน่อนแฝดพิสัยไกล ส่วนปืนข้างซ้ายนั้นเปลี่ยนเป็นระบบเล็งประสิทธิภาพสูงซึ่งระบบเล็งนี้ยังติดไว้ที่ไหล่ทั้งสองข้างโดยข้างซ้ายจะมีมิสไซล์ขนาดใหญ่ติดไว้ด้วย ที่แขนขวาติดกันยูนิตซึ่งเป็นเกรเน็ดลันเชอร์สองลำกล้อง ส่วนที่แขนซ้ายติดเรลกันสองลำกล้องไว้และที่ขาทั้งสองข้างก็ติดท่อขับดันเสริมไว้ Gแคนน่อนรุ่นติดอาวุธหนักยังคงสามารถปลดอุปกรณ์เกือบทั้งหมดยกเว้นที่ไหล่ทิ้งได้เมื่อต้องเข้าต่อสู้ในระยะประชิดตัว ในภายหลังนั้นเมื่อ SNRIทำการผลิต Gแคนน่อนของตัวเองแล้วก็ได้แก้ให้ใช้งาน VSBRเป็นปืนประทับบ่าได้

บริษัทแอนาไฮม์อิเล็กทรอนิกส์ยังได้ปรับปรุงรูปแบบของ Gแคนน่อนต่อมาตามโปรเจ็คท์ซิลลูเอ็ทฟอร์มูลาร์เป็น F71B Gแคนน่อนแม็กนา โดยใช้ข้อมูลที่จารกรรมจาก SNRI เตาปฏิกรณ์ของ Gแคนน่อนแม็กนานั้นเป็นเตาปฏิกรณ์ขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าของเฮฟวีกันและอาวุธบีมก็มีอานุภาพขึ้นด้วยคอนเดนเซอร์ขนาดใหญ่และระบบการแปลงพลังงานที่รวดเร็วขึ้น เกราะไหล่ได้รับการดัดแปลงให้ช่วยรับแรงถีบของปืนกระทับบ่า ปืนประทับบ่าของ Gแคนน่อนแม็กนานั้นปรับปรุงให้ติดตั้งได้โดยที่สมรรถนะไม่ลดลงมามากนักและโดยปกติแล้วก็จะใช้บีมแคนน่อนเป็นหลัก ซึ่งบีมแคนน่อนของ Gแคนน่อนแม็กนานั้นได้ออกแบบให้ควบคุมความเร็วของการแปลงพลังงานได้คล้ายกับ VSBR

f71-fet.jpg

F71 G-Cannon Powered Weapon Type

First appearance Gundam F91 Mobile Suit Variations
Designer Kunio Okawara

f71-vsbr.jpg

F71 G-Cannon VSBR Type

First appearance Gundam F91 Mobile Suit Variations
Designer Kunio Okawara

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License