กันดั้ม F90
f90-unit1.jpg

F90 Gundam F90

First appearance Mobile Suit Gundam F90
Designer Kunio Okawara
Head height 14.8 m
Base weight 7.5 t Full weight 17.8 t
Armor gundarium alloy
Powerplant Minovsky type ultracompact fusion reactor
Power output 3160 kW
Special feature A.R chip
Armaments

  • beam saber
  • vulcan gun
  • beam rifle
  • shield

MSซึ่ง SNRIพัฒนาตามโปรเจ็คฟอร์มูลาเพื่อใช้ในการทดสอบรูปแบบต่างๆของ MSแบบลดขนาดตามมาตรฐานใหม่ของสหพันธ์โลก โลหะผสมกันดาเรียมนั้นได้รับการพัฒนาให้มีน้ำหนักเบากว่าเดิมด้วยโครงสร้างแบบรังผึ้ง (ไมโครฮันนีโคม) ซึ่งทำให้ลดน้ำหนักของมูฟเอเบิลเฟรมและเกราะลงไปได้ประมาณ 30% ระบบคอมพิวเตอร์เป็นแบบใช้วงจรที่จำลองระบบประสาทของมนุษย์ซึ่งมีความสามารถในการประมวลผลที่สูง เนื่องจาก F90เป็นเครื่องทดสอบระบบอุปกรณ์หลายรูปแบบจึงมีฮาร์ดพอยน์อยู่ทั่วตัวให้สามารถติดตั้งและถอดเปลี่ยนอุปกรณ์แบบต่างๆที่เรียกว่ามิชชันแพ็คได้มากมาย

ในตอนที่ F90เข้าประจำการนั้น SNRIก็ได้สร้างมิชชันแพ็คเตรียมไว้แล้วห้าแบบ คือ A (Assault) ที่ใช้ในการโจมตีเป้าหมายจากระยะทางไกลหรือลึกเข้าไปในพื้นที่ของศีตรูด้วยความเร็ว มีจุดเด่นคือแบ็คแพ็คขนาดใหญ่ซึ่งเป็นมินอฟสกีคราฟท์กับถังเชื้อเพลิง F90Aจึงบินบนโลกด้วยความเร็วสูงได้และที่มินอฟสกีคราฟท์ยูนิตก็มีบีมแคนน่อนกับปืนอัตโนมัติติดไว้พร้อมกับใช้บีมบาซูก้าเป็นอาวุธเสริม แต่ขณะที่บินอยู่นั้นส่วนไหล่และแขนของ F90Aจะล็อกไว้ให้บินได้นิ่งทำให้ระบบ AMBAC ด้อยประสิทธิภาพลง D (Destroyed) ซึ่งเน้นการเวลาเข้าโจมตีฐานโดยติดอาวุธหนักอย่างจรวด ระเบิดมือ และปืนกลแก็ตลิ่ง เนื่องจากคาดว่าจะถูกศัตรูล้อมในพื้นที่แคบๆจึงได้ออกแบบให้ปลดอาวุธที่ไม่จำเป็นแล้วทิ้งไปเป็นการลดน้ำหนักให้ต่อสู้ในระยะประชิดตัวได้ดีขึ้นได้ H (Hover) ซึ่งติดตั้งระบบลอยตัวเหนือพื้นสำหรับต่อสู้ภาคพื้นดินด้วยความเร็วสูง แต่เนื่องจาก F90นั้นมีขนาดเล็กกว่า MSรุ่นเก่าจึงบรรุเชื้อเพลิงพอใช้งานได้ 4 ชั่วโมงเท่านั้น M (Marine) ซึ่งใช้งานแบบสะเทินน้ำสะเทินบก โดยติดตั้งระบบขับเคลื่อนในน้ำ มีอาวุธหลักเป็นมิสไซล์ ตอร์ปิโด กับปืนยิงฉมวก และ S (Support) ซึ่งต่อมาได้ใช้พัฒนาไปเป็นแคนน่อนกันดั้ม

เดิมทีนั้น SNRI นั้นได้สร้างกันดั้ม F90 เครื่องต้นแบบไว้สองเครื่อง เครื่องหมายเลข 1นั้นมีเดฟ สตาเลียนเป็นนักบินทดสอบและระบบคอมพิวเตอร์จะใช้ชิป A.R ซึ่งมีความสามารถในการคำนวณการเคลื่อนไหวของศัตรูได้ล่วงหน้าซึ่งในการต่อสู้บนดาวอังคารกับกองกำลังโอลด์โมบิลที่ยึดเครื่องหมายเลข 2ไปได้นั้นเดฟก็ได้ผสมชิ้นส่วนจากมิชชันแพ็คแบบ A D และ Sในเครื่องเดียว หลังการต่อสู้บนดาวอังคาร SNRIก็ได้เก็บ F90ทั้งสองเครื่องคืนมา กันดั้ม F90หมายเลขหนึ่งนั้นได้ซ่อมกลับเป็นแบบเดิมโดยบางครั้งจะเรียกว่า F90I และส่งไปประจำบนยานเอบรามโดยกำหนดให้ไวลเดอร์ คัทซ์เป็นนักบินทดสอบ แต่เบลฟ สเครทซึ่งเป็นนักบินประจำของเอบรามก็ได้ใช้กันดั้ม F90ออกรบแทนเจกันของตนเองที่ซ่อมอยู่และเป็นนักบินประจำต่อมา โดยที่เบลฟได้ใช้มิชชันแพ็คใหม่อีกสองแบบคือ P (Plunge) ซึ่งติดตั้งพลังก์อาเมอร์สำหรับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกและดัดแปลงโครงสร้างให้แปลงร่างแบบง่ายๆได้แต่มีอาวุธเพียงบีมแคนน่อนติดไหล่กับปืนวัลแคน และ V (VSBR)ซึ่งเป็นรูปแบบที่พัฒนาไปเป็นกันดั้ม F91

กันดั้ม F90ยังมีมิชชันแพ็คแบบอื่นๆอีก อย่างเช่นแบบ E (Electronic) ซึ่งใช้งานด้านสงครามอิเล็กทรอนิกส์และสอดแนม เดิมทีนั้นมิชชันแพ็คนี้ไม่มีข้อมูลจนกระทั่งได้รับการออกแบบใหม่ใน F90 A to Z Project โดยมีแบ็คแพ็คติดจานเรดาร์ขนาดใหญ่ซึ่งใช้เก็บข้อมูลได้ดีมาก ที่ไหล่และเอวก็มีระบบเรดาร์ อาวุธแบบปืนมือถือนั้นเป็นแจมมิงไรเฟิลที่ใช้รบกวนการสื่อสารของศัตรู แต่ไม่มีอาวุธอื่นนอกจากปืนวัลแคนกับบีมเซเบอร์ B (Bombard) ซึ่งติดอาวุธหนักอย่างปืนใหญ่กับมิสไซล์อยู่ทั่วตัว C (Coldness) ซึ่งออกแบบสำหรับสู้รบในพื้นที่หนาวเย็นโดยมีสกีอยู่ที่เท้าซึ่งเป็นแบบพับขึ้นมาให้เดินตามปติได้ F90Cยังมีฮีทเตอร์อยู่ที่สกียูนิต เอว และบ่าเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำแข็งจับ โดยส่วนไหล่นั้นจะมีผ้าคลุมลงมาถึงช่วงอกเพื่อเก็บความร้อนด้วย F (Fight) ที่เน้นการต่อสู้ในระยะประชิดตัวโดยติดอาวุธแบบสนับมือไว้ที่แขนซึ่งจะแผ่บีมออกมาแทงศัตรูเวลาชก ที่เอวของ F90F ติดแขนกลที่สามารถใช้ถือบีมเซเบอร์เวลามือไม่ว่างได้ G (Guard) ซึ่งเน้นด้านภารกิจคุ้มกันพื้นที่หรือยานแม่ โดยมีโล่ขนาดใหญ่ที่สามารถป้องกันลำตัวได้ทั้งหมดติดไว้กับบ่าขวา ส่วนที่บ่าซ้ายนั้นมีมัลติเพิลบีมเวพอนที่สามารถใช้ได้ทั้งเป็นดาบบีมขนาดใหญ่และยิงออกไปเป็นบีมไรเฟิล โดยสามารถถอดออกจากฮาร์ดพอยที่บ่ามาใช้เป็นอาวุธมือถือได้ด้วยเช่นกัน K (Keep) ซึ่งเป็นรุ่นที่เน้นด้านพลังป้องกันโดยติดตั้ง Iฟิลด์บาเรียร์และเมกาบีมชิลด์รุ่นทดลอง O (Officer) ซึ่งเป็นรูปแบบสำหรับนายทหารใช้งานโดยแบ็คแพ็คนั้นติดปืนวัลแคนเสริมกับเสาอากาศขนาดใหญ่เพิ่มประสิทธิภาพในการบัญชาการไว้ ส่วนบีมเซเบอร์ย้ายไปไว้ที่เอว บีมไรเฟิลของ F90O นั้นนอกจากแบบมาตรฐานแล้วยังมีรุ่นปรับปรุงที่ปรับโหมดการยิงเป็นลำแสงอานุภาพสูงได้โดยยืดลำกล้อง R (Reconnaissance) ซึ่งเป็นรุ่นสอดแนมที่สวมเกราะเสริมซึ่งช่วยลดสัญญาณความร้อนกับกล้องไว้ ที่แขนทั้งสองข้างก็ติดกล้องที่สามารถปล่อยออกไปบังคับผ่านสายเคเบิลได้ ส่วนขายังติดอุปกรณ์ซึ่งใช้ปล่อยดัมมีบอลลูนหรือทุ่นระเบิดได้ตามการใช้งาน T (Tracer) ซึ่งออกแบบสำหรับติดตามเป้าหมายโดยมีระบบขับเคลื่อนกำลังสูงด้านหลังที่ดัดแปลงมาจากแบบ A และที่ไหล่ทั้งสองข้างก็มีโล่ขนาดใหญ่ที่ออกแบบให้เคลื่อนไหวได้โดยไม่เกะกะแขนและมีบีมกันสองลำกล้องอยู่ด้านในด้วย และ U (Up-lift) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ติดบูสเตอร์สำหรับใช้ออกจากบรรยากาศโลกด้วยตนเอง ในตอนที่สุซุกิ มิโนรุ ได้ร่วมกับโทเบีย อโลแน็กซ์หยุดยั้งโคโลนีเลเซอร์ ชินวาทส์นั้นก็ใช้ F90I แต่ใช้มิชชันแพ็ค Iของ F90เซคันด์โดยเปลี่ยนบีมแลนเซอร์เป็นช็อตแลนเซอร์แบบติดบีมไรเฟิลไว้แทนและติดหัวรบนิวเคลียร์ขนาดเล็กไว้ด้วย

f90a.jpg

F90A Gundam F90 Assault Type

First appearance Mobile Suit Gundam F90
Designer Kunio Okawara
Head height 14.8 m
Base weight 9.8 t Full weight 80.3 t
Armor gundarium alloy
Powerplant Minovsky type ultracompact fusion reactor
Power output 3160 kW
Special feature A.R chip, Minovsky craft
Armaments

  • beam saber
  • vulcan gun
  • machine cannon
  • beam cannon
  • mega beam bazooka
Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License