กันดั้ม F90เซคันด์
f90ii.jpg

F90II Gundam F90II

First appearance Mobile Suit Gundam F90
Designer Kunio Okawara
Head height 15.1 m
Base weight 7.7 t Full weight 18.4 t
Armor gundarium alloy
Powerplant Minovsky type ultracompact fusion reactor
Power output 3880 kW
Special feature bio-computer
Armaments

  • beam saber
  • vulcan gun
  • beam rifle
  • shield

กันดั้ม F90เครื่องต้นแบบหมายเลขสองซึ่งเดิมทีนั้นนอกจาสีแล้วก็มีข้อแตกต่างจากเครื่องหมายเลข 1คือระบบคอมพิวเตอร์จะใช้ชิป C.A ซึ่งมีความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวที่สูงกว่าชิป A.Rของเครื่องหมายเลข 1และจากการคำนวณนั้นสามารถบังคับเครื่องด้วยความเร็วที่มากกว่า MSทั่วๆไปถึงสามเท่า กันดั้ม F90หมายเลข 2นั้นมีซิด อัมเบอร์เป็นนักบินทดสอบ แต่ระหว่างการทดสอบก็ถูกโอลด์โมบิลซึ่งเป็นกองกำลังของซีอ้อนที่เหลืออยู่บนดาวอังคารยึดไป กองกำลังโอลด์โมบิลได้ดัดแปลง F90เป็น OMS-90R โดยใช้ชิ้นส่วนที่โอลด์โมบิลเก็บไว้และตัดการทำงานที่เผื่อไว้สำหรับรองรับการใช้งานมิชชันแพ็คทั้งหมด เกราะภายนอกถูกเปลี่ยนไปกว่า 80%และใช้เซนเซอร์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เกราะที่ไหล่ซ้ายติดหนามไว้และเสริมเกรเน็ดติดเอวกับใช้อาวุธหลักเป็นปืนกล F90ที่ดัดแปลงแล้วนี้หนักกว่าแบบดั้งเดิมเล็กน้อยแต่ได้ติดอโพจีมอเตอร์เสริมความคล่องตัวทำให้ยังสมรรถนะพอๆกับกันดั้ม F90แบบดั้งเดิมขณะที่สามารถต่อสู้ในระยะประชิดตัวได้ดีกว่า

หลังการต่อสู้บนดาวอังคาร SNRIก็ได้เก็บ F90ทั้งสองเครื่องคืนมา แม้ว่าเครื่องหมายเลข 2จะถูกดัดแปลงไปมากแล้วและยังเสียหายหนักมาก แต่เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์และเครื่องกำเนิดพลังงานยังใช้งานได้ จึงได้ทำการซ่อมใหม่จนเสร็จ พร้อมกับทดลองใช้มิชชันแพ็ค N (Next) ซึ่งเป็นมิชชันแพ็คพิเศษที่ออกแบบสำหรับเพิ่มระบบไซคอมมิวให้ F90 และมิชชันแพ็คก็สามารถปฏิบัติการเดี่ยวเป็นยาน ฮัลไฟเตอร์ ได้ด้วย โดยนักบินของฮัลไฟเตอร์จะทำหน้าที่ควบคุมระบบไซคอมมิวแต่ก็สามารถโอนการบังคับให้กันได้ ส่วนหัวยานของฮัลไฟเตอร์ซึ่งเมื่อประกอบกับ F90 จะแยกออกมาเป็นเหมือนโล่ได้นั้นติดบีมแคนน่อนกับบีมไรเฟิลไว้ ซึ่งที่บีมไรเฟิลนี้มีอาวุธบังคับไร้สายผ่านระบบไซคอมมิว ฮิลท์ฟันเนล ติดไว้ด้วย โดยนอกจากจะใช้เป็นอาวุธยิงแล้วฮิลท์ฟันเนลยังสามารถปล่อยบีมเบลดออกมาเป็นอาวุธแทงได้และยังสามารถยืดส่วนท่อขับดันออกเป็นด้ามจับให้ F90 ถือแบบบีมเซเบอร์ได้ด้วย ตัวฮัลไฟเตอร์เองยังมีเมกามาชีนแคนน่อนเป็นอาวุธเสริม เนื่องจากฮัลไฟเตอร์นั้นจะประกอบกับ F90 ที่ฮาร์ดพอยน์ด้านหลังเท่านั้น F90N จึงสามารถใช้งานมิชชันแพ็คอื่นๆที่ไม่ใช้พาร์ทประกอบด้านหลังไปพร้อมกันได้ด้วย ซึ่งเดิมทีนั้นฮิลท์ฟันเนลก็ตั้งใจให้กางบีมบาเรียร์ได้เหมือนฟินฟันเนลของนิวกันดั้ม แต่เนื่องจากสามารถใช้งานร่วมกับมิชชันแพ็คแบบ K ได้อยู่แล้วจึงประเมินว่าไม่จำเป็น

ต่อมานั้น SNRI ก็ยกเครื่อง F90 หมายเลขสองใหม่โดยใช้ข้อมูลของกันดั้ม F91ซึ่งได้เริ่มการพัฒนาขั้นพื้นฐานไปแล้วด้วย โดยเรียกว่ากันดั้ม F90II F90เซคันด์ ระบบคอมพิวเตอร์แบบจำลองระบบประสาทของมนุษย์นั้นได้รับการปรับปรุงเป็นต้นแบบของไบโอคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งให้กันดั้ม F91 F90เซคันด์ยังคงสามารถใช้งานมิชชันแพ็คได้ ซึ่งในตอนที่ F90เซคันด์เข้าประจำการนั้นก็มีมิชชันแพ็คใหม่คือ I (Intercept) ซึ่งเน้นด้านความเร็วโดยติดท่อขับดันไว้ที่ขาทั้งสองข้างและใช้โล่ไฟลท์ชิลด์ที่เป็นโล่ขนาดใหญ่ติดท่อขับดันไว้ซึ่งนอกจากจะมีพลังป้องกันสูงและป้องกันความร้อนในการเข้าสู่บรรยากาศโลกได้แล้วยังเป็นบูสเตอร์เสริม F90II-Iนั้นสามารถบินกลางอากาศหรือลอยตัวเหนือพื้นแบบโฮเวอร์ก็ได้ ส่วนอาวุธหลักนั้นเป็นบีมแลนเซอร์ขนาดใหญ่ที่สามารถยิงบีมแบบสาดกระจายเหมือนปืนลูกซองได้ กับ L (Long-range) ซึ่งใช้ในการยงโจมตีเป้าหมายจากระยะไกลมากโดยมีอาวธหลักคือปืนไรเฟิลยาวที่สามารถยิงได้ทั้งกระสุนและบีม กระสุนของไรเฟิลยาวนั้นมีจุดเด่นคือสามารถโปรแกรมล่วงหน้าให้เปลี่ยนทิศทางหลังจากที่ยิงไปแล้วเพื่อโจมตีจากมุมอื่นได้ ส่วนบีมนั้นก็มีการกระจายตัวต่ำและมีระยะหวังผลถึง 100 กม. ที่ไหล่ซ้ายเป็นระบบกล้องเซนเซอร์เสริมซึ่งมีระบบตรวจจับความร้อนสำหรับหาตัวศัตรูที่ซ่อนอยู่ด้วย ฮาร์ดพอยร์ตามตัวและขานั้นมีทั้ง Eแพ็คซึ่งเป็นพลังงานของบีมและตลับกระสุน ส่วนที่แขนนั้นมีมิสไซล์แฝดสำหรับยิงโจมตีในระยะกลาง

หลังจากที่ทราบว่าข้อมูลของโปรเจ็คท์ฟอร์มูลารั่วไหลไปถึงแอนาไฮม์อิเล็กทรอนิกส์ SNRIก็ได้สร้าง F90III กันดั้มF90เธิร์ด สำหรับใช้ในการทดลองแบบสองเครื่องแรก F90เธิร์ดนั้นใช้ระบบคอร์บล็อกด้วยและมิชชันแพ็คแบบ Y (Youngstar) เรียกว่า F90III-Y คลัสเตอร์กันดั้ม โดยใช้แบ็คแพ็คเป็นแบบที่ประกอบเป็นบูสเตอร์ของคอร์ไฟเตอร์ได้ ซึ่งข้อมูลการใช้งานทั้งหมดนั้นจะบันทึกไว้ในคอร์ไฟเตอร์ทำให้ลดโอกาสที่ข้อมูลรั่วไหลได้มากกว่า คลัสเตอร์กันดั้มยังได้ติดตั้งบีมชิลด์และมีเมกาบีมบาซูก้าซึ่งเป็นต้นแบบของบีมบาซูก้าที่สหพันธ์โลกและลีกมิลิเทียร์ใช้งานในเวลาต่อมา

f90-unit2.jpg

F90 Gundam F90

First appearance Mobile Suit Gundam F90
Designer Kunio Okawara
Head height 14.8 m
Base weight 7.5 t Full weight 17.8 t
Armor gundarium alloy
Powerplant Minovsky type ultracompact fusion reactor
Power output 3160 kW
Special feature C.A chip
Armaments

  • beam saber
  • vulcan gun
  • beam rifle
  • shield
f90-unit2-restored.jpg

Restored Colours

oms-90r.jpg

OMS-90R Gundam F90

First appearance Mobile Suit Gundam F90
Designer Kunio Okawara
Head height 15.2 m
Base weight 8.9 t Full weight 20.22 t
Armor gundarium alloy
Powerplant Minovsky type ultracompact fusion reactor
Power output 3160 kW
Special feature C.A chip
Armaments

  • beam saber
  • vulcan gun
  • machine gun
  • grenade
Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License