แบร์ไก
gpb-04b.jpg

GPB-04B Beargguy

First appearance Model Suit Gunpla Builder Beginning G
Designer Junichi Akutsu
Head height 20 m
Weight 100 t
Armaments

  • beam flute
  • mega particle cannon
  • backpack missile
  • 6-tube missile launcher

กันพลาแอ็คไกที่รินะ โนยามะที่แต่งให้ดูเหมือนหมี โดยในตอนแรกนั้นเพียงแต่สวมฮูดหูหมีกับติดริบบินแล้วก็เอาปลาไม้มาติดไว้ที่มือเท่านั้น (เรียกว่าโปรโตแบร์ไก) แต่ต่อมาก็ดัดแปลงทั้งตัวโดยมีแบ็คแพ็คแบบกระเป๋านักเรียนซึ่งเป็นทั้งมิสไซล์ลันเชอร์และใช้เก็บขลุ่ยบีมซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งเป็นบีมเซเบอร์และยิงเป็นบีมแคนน่อนอานุภาพสูงได้ แบร์ไกยังใช้ตาแบบโมโนอายอยู่ แต่มีปืนมหาอนุภาคที่ติดไว้เหมือนตาสองข้างของหมีอยู่ด้วย ส่วนมือไม่มีกรงเล็บแต่ก็มีความทนทานและใช้ทุบได้ ในภาค Beginning J อาริสุคาวะ ฮิคาริก็ได้แต่งแบร์ไกต่อไปอีกเป็น GPB-04NYA เนียกไก โดยเปลี่ยนรุปแบบเป็นแมวและติดเล็บไว้ที่แขนทั้งสองข้าง ส่วนกระเป๋านักเรียนนั้นไม่เข้ากับแมวจึงเปลี่ยนกลับเป็นแบ็คแพ็คเดิมของแอ็คไก

ในภาคบิลด์ไฟเตอร์ รูปแบบของกันพลาแบร์ไกได้มีการแก้ไขและวางจำหน่ายเป็นแบร์ไกทูว์ ซึ่งเปลี่ยนตาเป็นจอ LCDที่สามารถแสดงสีหน้าได้หลากหลาย อาวุธของแบร์ไกทูว์นั้นประกอบด้วยปืนอนุภาคในปากที่หุบอ้าได้ และบีมกันที่มือทั้งสองข้างซึ่งสามารถใช้เป็นบีมเซเบอร์ได้ ด้านหลังของแบร์ไกทูว์สามารถถอดแบ็คแพ็คกระเป๋านักเรียนออกแล้วติดสไตรเกอร์แพ็คอื่นๆได้ และโคซากะ ชินะก็ได้แต่งแบร์ไกทูว์ไปอีกเป็น KUMA-03 แบร์ไกซัง (เล่นคำกับเลข IIIในชื่อ) แม้จะเป็นมือใหม่ด้านกันพลา แต่ชินะนั้นเป็นสมาชิกชมรมศิลปะและวาดภาพสีน้ำเก่งอยู่แล้วจึงลงสีได้ดีมาก สไตรเกอร์แพ็คนั้นจินาได้ใช้ริบบอนสไตรเกอร์ซึ่งเป็นปีกท่อขับดันที่แต่งให้เหมือนโบว์ริบบิน เนื่องจากชินะไม่ใช่แฟนกันดั้มจึงจินตนาการแบบเด็กผู้หญิงทั่วๆไปว่าแบร์ไกซังนั้นเป็นตุ๊กตาหมีที่กลายเป็นหุ่นยนต์และได้ยัดนุ่นเข้าไปในตัวด้วยทำให้สามารถรับแรงกระแทกได้มาก และถ้าพ่นออกมาจากตัวผ่านปืนที่ปากก็จะใช้หยุดการเคลื่อนไหวของศัตรูได้

ในภาคบิลด์ไฟเตอร์ทราย มิไร คามิคิก็ได้ใช้แบร์ไกทูว์ลงแข่งในอีเวนต์แรลลีของงานกันพลาคอลเลคชัน โดยได้รับคำแนะนำจากยูมะ โคซากะ แชมป์งานศิลป์กันพลา โดยยูมะได้ให้ของขวัญกับมิไรเปลี่ยนแบร์ไกทูว์เป็น KUMA-F แบร์ไก F(แฟมิลี) โดยตัวแบร์ไกทูว์นั้นนับเป็นมามาไกที่มี"แชร์สไตรเกอร์"เป็นเก้าอี้ด้านหลังให้ปุจิไกซึ่งเป็นหมีตัวเล็กนั่ง ปุจิไกนั้นสามารถแยกออกมาจากมามาไกให้มิไรบังคับได้เหมือนเป็นยูนิตหนีภัย แม้ว่าปุจิไกจะไม่มีอาวุธ แต่มิไรนั้นเคยฝึกศิลปะการต่อสู้สำนักจิเก็นฮาโอมาเหมือนกับน้องชายจึงมีความสามารถในการต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่สูงทีเดียว ปุจิไกยังมีหลอดสำหรับเป่าฟองสบู่ซึ่งเอาไว้หุ้มตัวเองแล้ววิ่งบนผิวน้ำได้

ในตอนพิเศษ Island Wars มิไรก็ได้ใช้ KUMA-P แบร์ไก P(พริตตี) ซึ่งก็ดัดแปลงมาจากแบร์ไกทูว์ แบร์ไก Pนั้นเป็นกันพลาสำหรับประกอบฉากถ่ายแบบ แต่เนื่องจากได้ยูมะประกอบให้จึงมีสมรรถนะในระดับสูง จริงๆแล้วแบร์ไก Pใช้สไตรเกอร์ฉพ็คแบบวงแหวนและปีกนางฟ้าเรียกว่า LOVEสไตรเกอร์ กับคธาพริตตีสติ๊ก แต่ในตอนที่มิไรใช้แบร์ไก Pช่วยหยุดหินอาริสตาที่หลุดจากการควบคุมในนิลเซนแล็บนั้นได้ใช้อุปกรณ์ของแบร์ไก Fแทน โดยมีฟุซากิ ซาโตมิซึ่งเป็นเพื่อนนางแบบของมิไรเป็นผู้บังคับปุจิไก ซึ่งปุจิไกตัวใหม่นี้มีกระเป๋าหน้าท้องซึ่งสามารถดึงอุปกรณ์อย่างแตรหรือตะบองของกันดั้มบาร์บาทอสออกมาได้ ยูมะเองยังได้แต่งแบร์ไกทูว์อีกตัวให้เข้าชุดกับแบร์ไก Fเป็นครอบครัวแบร์ไก นั่นคือ KUMA-PP ปาปาไก โดยยูมะจินตนาการว่าเป็นพ่อหมีสุภาพบุรุษผู้พร้อมปกป้องครอบครัว นอกจากอาวุธมาตรฐานของแบร์ไกทูว์แล้ว ปาปาไกยังมีหมวกซึ่งสามารถขว้างเป็นอาวุธได้ และมีไม้เท้าซึ่งภายในใช้เก็บอาวุธอย่างมิสไซล์ ปืนกล หรือบีมเซเบอร์ได้ (ยูมะจินตนาการไว้ว่าปาปาไกสะสมไม้เท้าเป็นงานอดิเรก แต่ปัจจุบันจะเก็บเพิ่มก็ต้องขออนุญาตมามาไกก่อน)

ในห้องชมรมกันพลาแบทเทิลของโรงเรียนเซโฮนั้นยังมีชินักไก ซึ่งเป็นกันพลาแบบกันพลาคอสฮีโรอีนที่ผสมรูปแบบของชินะกับแบร์ไกซัง โดยใช้ชุดเมดที่ทำสีแบบของแบร์ไกซังและสวมหมวกกับถุงมือแบร์ไกซังซึ่งสามารถถอดออกและเปลี่ยนเป็นแบบอื่นๆได้ ซึ่งนอกจากหมวกแล้วยังมีที่คาดผลสองแบบคือแบบปกติที่ชินะตัวจริงใช้และแบบติดหูแบร์ไกซังซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร (แต่ดูเหมือนว่าจริงๆแล้วจะติดให้ดูน่ารักเท่านั้น) ในภาค Battlelogue ชินักไกเป็นกันพลาที่อาศัยอยู่ในหมูบ้านแบแบร์และดูแลเหล่าปุจิไกหลังจากที่แบร์ไกผู้ใหญ่หายตัวไป

kuma-03.jpg

KUMA-03 Beargguy III

First appearance Gundam Build Fighters
Designer Kanetake Ebikawa
Head height 23 m
Weight 100 t
Armaments

  • beam gun/beam saber
  • mouth mega particle cannon
Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License