จาราแลคส์
jw-201-c.jpg

JW-201-C Jaralaccs C

First appearance Steel Battalion
Designer Okubo Junji
Height 26.1 m
Armaments

  • cutter boom
  • 120 mm machine gun
  • 140 mm machine gun
  • flamethrower
  • 315 mm smooth bore cannon
  • napalm launcher
  • minelayer
  • triple grenade launcher
  • self-guided missile
  • dual guided missile launcher
  • marker launcher

VTซึ่งเดิมทีนั้นบริษัท WMพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งแบบต่อสู้ทั่วไปและยิงสนับสนุนระยะไกล แต่ได้ระงับการพัฒนาไว้หลังจากที่กองกำลังแปซิฟิกริมได้ทำสัญญากับบริษัทโคมัตสุแลนด์ซิสเต็มให้พัฒนาดีไซเดอร์วอลแคนิค จนกระทั่งเทคโนโลยี VTก้าวหน้ามาถึงรุ่นที่สองจึงได้นำกลับมาพัฒนาอีกซึ่งในช่วงนี้บริษัท WMยังได้ทำการแลกเปลี่ยนวิทยาการกับบริษัทออคแทเดอร์จากเยอรมันซึ่งเพิ่งผันตัวจากผู้ผลิตเครื่องมือเหมืองแร่มาเข้าร่วมในตลาด VT ทำให้ระบบกลไกไฮโดรลิคของบริษัท WMมีประสิทธิภาพขึ้นมาก บริษัท WMซึ่งต้องการให้ VTของตนมีความโดดเด่นอยู่แล้วจึงได้ออกแบบ VTรุ่นใหม่นี้ให้เป็น VTแบบหนักซึ่งได้รับความสนใจจากกลุ่มทหารรับจ้างจาราแลคส์ที่เข้าร่วมในสงครามชิงเกาะไหฉีเถาและต้องการ VTของตนเองซึ่งมีทั้งพลังในการต่อสู้และสามารถใช้งานได้หลากหลายจึงได้ตกลงให้บริษัท WMผลิตให้ โดยบริษัท WMนั้นได้เริ่มผลิตจาราแลคส์ออกมาสองรุ่น คือ จาราแลคส์ C ซึ่งเน้นการต่อสู้ระยะประชิด กับ จาราแลคส์ N ซึ่งสามารถใช้เป็นยูนิตยิงสนับสนุนได้ จาราแลคส์นั้นแม้จะเป็น VTรุ่นหนักแต่สมรรถนะของเครื่องก็อยู่ในระดับดี จาราแลคส์ Cนั้นมีอาวุธพิเศษคือสว่าน คัตเตอร์บูม ซึ่งเป็นอาวุธระยะประชิดตัวของ VT ที่มีอานุภาพรุนแรงที่สุด เนื่องจากการใช้งานสว่านนั้นต้องรับแรงดันมากจึงติดตั้งคัตเตอร์บูมแบบตายตัว จาราแลคส์ Cยังมีอาวุธยิงระยะประชิดอย่างปืนไฟหรือนาปาล์มลันเชอร์รวมทั้งสามารถวางทุ่นระเบิดได้ด้วย ส่วนจาราแลคส์ Nนั้นสมารถติดตั้งปืนฮาววิตเซอร์และอาวุธปืนระยะกลางและสั้นได้มากทำให้สามารถปฏิบัติการได้หลายรูปแบบ จาราแลคส์ทั้งสองรุ่นยังสามารถใช้มาร์คเกอร์ลันเชอร์ระบุเป้าให้หน่วยสนับสนุนได้

บริษัท WMยังได้พัฒนาจาราแลคส์ NS เป็นเครื่องจ่าฝูงซึ่งต่อมาก็ได้รับการปรับปรุงเป็น JW-202-NS-R1 จาราแลคส์ NS-R ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นจาราแลคส์ Cที่ปรับปรุงให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ในกลุ่มจาราแลคส์เองก็ให้นักบินมีฝีมือที่ใช้จาราแลคส์ Cได้อย่างคล่องแคล่วแล้วเท่านั้น เดิมทีนั้นบริษัท WMต้องการจะให้จาราแลคส์ NS-Rใช้เรลกันได้แต่มีปัญหาที่การติดตั้งทั้งคัตเตอร์บูมและเรลกันนั้นจะทำให้สมดุลเครื่องแย่มาก โครงสร้างของจาราแลคส์ NS-Rยังได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงการติดคัตเตอร์บูมไว้แต่แรก การเปลี่ยนให้ถอดคัตเตอร์บูมออกได้จึงส่งผลกับโครงสร้างทั้งหมด บริษัท WMนั้นตั้งใจจะสร้างจาราแลคส์อีกรุ่นโดยใช้โครงสร้างของจาราแลคส์ NS-Rแต่มีเรลกันแทนคัตเตอร์บูมเท่านั้น แต่กลุ่มจาราแลคส์จะไม่ยอมซื้อVTที่แพงขนาดนั้รหากไม่มีอาวุธระยะประชิดตัวเลย เมื่อบริษัท WMได้ขอความร่วมมือจากบริษัทออคแทเดอร์เพื่อยืมตัววิศวกรมาช่วยออกแบบอีกครั้งโดยที่ออคแทเดอร์เองนั้นก็ต้องการข้อมูล VTแบบหนักมาพัฒนาของตนเอง และออกมาเป็น JW-209-MAC จาราแลคส์มาคาเบิร ซึ่งนับได้ว่าเป็น VTรุ่นที่สองที่แข็งแกร่งที่สุดและใช้เทคโนโลยีบางส่วนจาก VTรุ่นที่สามเข้ามาผสมด้วย เรลกันของจาราแลคส์มาคาเบิรนั้นสร้างเลียนแบบเรลกันของจักเกอร์น็อตปรับแต่งให้ใช้งานด้วย OSของ VTรุ่นที่สองได้ ส่วนในระยะประชิดนั้นวิศวกรของออคแทเดอร์ได้ดัดแปลงชิลด์ไบน์เดอร์ของซีกซุก โดยเป็นเหมือนปีกติดไหล่ที่จะเลื่อนมาประกอบเป็นโล่บังด้านหน้าเมื่อใช้งานและใช้กระแทกศัตรูได้

jw-201-n.jpg

JW-201-N Jaralaccs N

Armaments

  • 120 mm machine gun
  • 140 mm machine gun
  • flamethrower
  • 315 mm smooth bore cannon
  • 355 mm smooth bore cannon
  • napalm launcher
  • minelayer
  • triple grenade launcher
  • dual pod missile
  • self-guided missile
  • high velocity missile launcher
  • dual guided missile launcher
  • rocket launcher
  • 305 mm howitzer
  • marker launcher
Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License