ซาคุภาคพื้นดิน
ms-06f.jpg

MS-06J Zaku II Ground Combat Type

First appearance Mobile Suit Gundam
Designer Kunio Okawara
Head height 17.5 m
Base weight 56.2 t Full weight 70.3 t
Armor super-hard steel alloy
Powerplant Minovsky type ultracompact fusion reactor
Power output 976 kW
Armaments

  • heat hawk
  • 120 mm machine gun
  • cracker grenade
  • 3-tube missile pod
  • 280 mm bazooka
  • 175 mm Magella Top cannon

แม้ว่าซาคุทูว์จะได้รับการออกแบบให้สามารถใช้ต่อสู้ได้ทั้งในอวกาศและบนโลก แต่หลังจากที่กองทัพซีอ้อนได้เริ่มทำการโจมตีบนโลกจริงๆนั้นจึงได้พบว่าระบบจำลองในโคโลนีที่ใช้ในการทดสอบการทำงานภาคพื้นดินของซาคุทูว์นั้นประเมินผลกระทบของแรงโน้มถ่วงและภูมิประเทศไว้ต่ำกว่าที่เป็นจริงและยังขาดข้อมูลสำคัญอย่างสภาพอากาศที่แปรปรวนอยู่ด้วย สมรรถนะบนโลกของซาคุทูว์จึงตกลงมามากกว่าที่ประเมินไว้ กองกำลังภาคพื้นดินของซีอ้อนจึงได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยนำซาคุทูว์แบบ Fมาถอดอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นสำหรับการใช้งานบนโลกออกไปเพื่อลดน้ำหนักและให้มีพื้นที่ว่างสำหรับติดตั้งระบบระบายอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์พร้อมกับบุฉนวนในจุดต่างๆอย่างข้อต่อเพื่อกันฝุ่น เนื่องจากว่าโครงสร้างของซาคุภาคพื้นดินนั้นยังเก็บอากาศอยู่จึงสามารถดำน้ำเป็นเวลาสั้นๆได้ด้วย ซาคุภาคพื้นดินนั้นนอกจากอาวุธเดิมของซาคุทูว์แล้วยังใช้ป้อมปืนของรถถังมาเจลลาแอ็ทแทคดัดแปลงเป็นปืนใหญ่แบบมือถือได้ ซาคุภาคพื้นดินยังมีรุ่นย่อยคือ MS-06JC ซึ่งมีรูปร่างต่างไปจากเดิมแต่สมรรถนะไม่เปลี่ยนแปลง หลังจากที่บริษัทซีโอนิคเริ่มการพัฒนากูฟก็ได้พัฒนา MS-06G ซาคุทูว์ภาคพื้นดินรุ่นการขับเคลื่อนสูงโดยผสมลักษณะของกูฟคือมีเขาเสาอากาศเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ใช้เกราะไหล่แบบเป็นหนามขนาดใหญ่ และติดท่อขับดันไว้ที่ขาทั้งสองข้างเพื่อช่วยเพิ่มการขับเคลื่อน ซึ่งซีโอนิคได้ผลิตซาคุรุ่นนี้เพียง 50 เครื่องก่อนจะยุติไปเมื่อกูฟเข้าสู่การผลิตจำนวนมาก

กองทัพซีอ้อนเองยังได้พัฒนา MS-06K ซาคุแคนน่อนโดยดัดแปลงจากซาคุภาคพื้นดิน ซึ่งเดิมทีนั้นตั้งใจให้ใช้เป็น MSต่อต้านอากาศยานแต่ก็ได้หยุดการพัฒนาไปหลังจากที่เครื่องต้นแบบคือ YMS-06K นั้นมีปัญหาด้านความสมดุลอย่างมาก แต่ก็ได้นำกลับมาพัฒนาใหม่โดยเปลี่ยนมาเป็นหน่วยยิงสนับสนุนระยะไกลเพื่อใช้ตอบโต้กันแคนน่อนของสหพันธ์โลก ซาคุแคนน่อนนั้นมีอาวุธหลักเป็นปืนใหญ่แบบประทับบ่า 180 มม.ที่แบ็คแพ็คซึ่งมีเครื่องปล่อยควันพรางตาอยู่ด้วยและสามารถติดเครื่องยิงจรวดสองลำกล้องเป็นอาวุธเสริมได้ ส่วนหัวยังติดเซนเซอร์เสริมและปรับปรุงให้โมโนอายเซนเซอร์สามารถหมุนได้รอบพร้อมกับติดตั้งเสาอากาศซึ่งมีทั้งแบบเสาเดี่ยวกับเสาคู่ ซาคุแคนน่อนยังคงใช้งานอาวุธมือถือของซาคุทูว์ได้ ซาคุแคนน่อนยังสามารถเปลี่ยนปืนใหญ่เป็นปืนวัลแคน 120 มม.ได้ด้วย ซึ่งกองทัพซีอ้อนก็ได้ทำการผลิตเฉพาะส่วนแบ็คแพ็คเพื่อให้ใช้กับซาคุภาคพื้นดินเป็น MS-06JK ซาคุฮาล์ฟแคนน่อนซึ่งเป็นรุ่นที่ดัดแปลงเฉพาะโล่ติดไหล่ แบ็คแพ็คนี้ยังสามารถใช้ประกอบกับซาคุรุ่นอื่นๆได้ จำนวนของซาคุแคนน่อนที่ซีอ้อนใช้งานในสมัยสงครามหนึ่งปีนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด แต่หลังจากสงครามหนึ่งปีมาแล้วก็มีเครื่องที่กองทัพสหพันธ์โลกใช้งานโดยทาสีใหม่ และก็มีหลงเหลือมาถึงนีโอซีอ้อนในยุคของฟุล ฟรอนทัล

ในภาค Thunderbolt ยังมี ไซโคซาคุมาร์คทูว์เครื่องทดสอบ ซึ่งเป็นซาคุภาคพื้นดินที่กลุ่มพันธมิตรทะเลใต้ดัดแปลงตามข้อมูลของรียูสไซโคดีไวซ์ของไซโคซาคุ ซึ่งการพัฒนาไซโคซาคุมาร์คทูว์นั้นมีปัญหาที่ไม่มีใครสามารถใช้งานได้นอกจากดาริล ลอเรนซ์ที่เป็นนักบินเดิมของไซโคซาคุเท่านั้น ตัวเครื่องของไซโคซาคุมาร์คทูว์จึงปล่อยไว้ในสภาพที่หลายๆส่วนเปิดโครงไว้โดยไม่หุ้มเกราะ สมรรถนะพื้นฐานของไซโคซาคุมาร์คทูว์นั้นนับว่าไม่ต่างจากซาคุภาคพื้นดิิน แต่หลังจากที่ดาริลมาร่วมกับกลุ่มพันธมิตรทะเลใต้แล้วก็สามารถแสดงความคล่องแคล่วที่เหนือกว่าปกติได้แม้ว่าโครงของซโคซาคุมาร์คทูว์จะมีอาการสั่นอย่างมากหลังจากที่ซ้อมต่อสู้ได้เพียง 5 นาทีเท่านั้น

ms-06jc.jpg

MS-06JC Zaku II Ground Combat Type

First appearance Mobile Suit Gundam: The 08th MS Team
Designer Kunio Okawara

ms-06g.jpg

MS-06G Zaku II High Mobility Ground Combat Type

First appearance MSV-R
Designer Kunio Okawara
Head height 17.5 m
Base weight 58.1 t Full weight 75.3 t
Armor super-hard steel alloy
Powerplant Minovsky type ultracompact fusion reactor
Power output 1015 kW
Armaments

  • 120 mm machine gun
  • 280 mm bazooka
  • 360 mm giant bazooka
ms-06r-mk2.jpg

Psycho Zaku Mk-II Test Type

First appearance Mobile Suit Gundam Thunderbolt
Designer Yasuo Ohtagaki

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License