เฮฟวีกัน
rgm-109.jpg

RGM-109 Heavygun

First appearance Mobile Suit Gundam F91
Designer Kunio Okawara
Head height 15.8 m
Base weight 9.5 t Full weight 23.5 t
Armor gundarium alloy/ceramic composite
Powerplant Minovsky type ultracompact fusion reactor
Power output 2870 kW
Armaments

  • beam saber
  • vulcan gun
  • beam rifle
  • hand grenade
  • shield

MSที่บริษัทแอนาไฮม์อิเล็กทรอนิกส์พัฒนาตามโครงการลดขนาด MS ของสหพันธ์โลก เนื่องจากการแข่งขันพัฒนาอาวุธตั้งแต่สงครามหนึ่งปีมานั้นทำให้ MS มีขนาดใหญ่โตขึ้นเรื่อย ซึ่งในช่วงเวลาที่สงบสุขและไม่มีสงครามเต็มรูปแบบนั้นการบำรุงรักษา MS ขนาดใหญ่นั้นนับว่าสิ้นเปลืองมาก SNRI จึงได้เสนอให้สหพันธ์โลกทำการลดขนาด MS ที่ใช้งานเพื่อลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว แต่แอนาไฮม์นั้นมีรายได้มากมายจากการผลิตเจกันให้สหพันธ์อยู่แล้ว การพัฒนาเฮฟวีกันจึงใช้เวลาถึงห้าปีและก็เรียกได้ว่าเป็นเจกันที่ออกแบบให้เล็กและเบากว่าเดิมโดยไม่มีเทคโนโลยีใหม่เลย เครื่องกำเนิดพลังงานของเฮฟวีกันนั้นใช้แบบเดียวกับของเจกัน แต่เนื่องจากเฮฟวีกันมีน้ำหนักเบากว่าเจกันมากโดยใช้เกราะโลหะผสมกันดาเรียมเพื่อลดน้ำหนักทำให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น ซึ่งหลังจากที่แก้ไขปัญหาของเครื่องที่ผลิตรุ่นแรกๆแล้วเฮฟวีกันก็สามารถผลิตและบำรุงรักษาได้ง่ายกว่าเจกัน อาวุธของเฮฟวีกันก็ยังคงเป็นแบบเจกันแต่ติดระเบิดมือไว้ที่เอวทั้งสองข้างซึ่งไม่ค่อยมีประโยชน์ในการต่อสู้กับ MS ด้วยกันนักแต่ก็เหมาะกับการปราบจราจลในโคโลนีอย่างมาก แต่คุณสมบัติของเฮฟวีกันก็ยังนับว่าไม่ได้ตามที่สหพันธ์ต้องการ แม้จะยอมรับให้เฮฟวีกันเข้าประจำการในกองทัพแต่ก็ทำสัญญาให้แอนาไฮม์อิเล็กทรอนิกส์ทำการผลิตจนกว่าจะหา MS ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการได้เท่านั้น

แอนาไฮม์นั้นทำการพัฒนาเฮฟวีกันต่อไปโดยปรับปรุงเล็กน้อยจนลงตัวเป็น RGM-111X เฮฟวีกันทูว์ โดยอาศัยว่าถึงจะถูกวิจารณ์ว่าเฮฟวีกันเป็นเพียงเจกันที่เล็กลงแต่เจกันก็เป็น MS ที่ขึ้นชื่อว่าไว้ใจได้อยู่แล้ว แต่เมื่อ SNRI ที่เห็นว่าแอนาไฮม์อิเล็กทรกนิกส์ไม่ตั้งใจพัฒนา MS ขนาดเล็กนั้นได้ผันตัวเองจากสถาบันที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีของสหพันธ์มาทำการผลิต MS เองเป็นคู่แข่งของแอนาไฮม์ แอนาไฮม์จึงได้ยกเลิกการผลิตเฮฟวีกันทูว์และพัฒนาเครื่องพิเศษ MSA-120 ไดรก์ เพื่อใช้เสนอให้สหพันธ์โลกพิจารณา แม้ว่าโครงสร้างภายในจะคล้ายกับเฮฟวีกัน แต่ MSA-120 ก็มีเกราะชั้นนอกซึ่งเป็นบีมโคตทั้งตัวและสามารถใช้เมกาบูสต์ E แคปเพิ่มสมรรถนะให้สูงขึ้นได้กว่าเท่าตัว ใช้อาวุธเป็นไฮเปอร์เมกาลันเชอร์กับปืนไฮอิมแพคท์ซึ่งเป็นปืนที่ใช้มินอฟสกีคราฟท์สร้างแรงโน้มถ่วงเทียมแบบเรลกันโจมตีศัตรู แต่แม้ว่า MSA-120 จะมีกำลังที่เหนือกว่ากันดั้ม F90 ของ SNRI ก็มีค่าใช้จ่ายในการผลิตที่สูงกว่ามาก และในการทดสอบด้วยแบบจำลองนั้นกันดั้ม F90 ก็สามารถล้ม MSA-120 ได้ในเวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้น และหลังจากที่สหพันธ์โลกได้เลือกให้ G แคนน่อนของ SNRI เข้าประจำการเป็นกำลังหลักแอนาไฮม์ก็ได้ยุติการผลิตเฮฟวีกันทูว์ไป แต่เนื่องจาก SNRI ต้องให้แอนาไฮม์ช่วยผลิต G แคนน่อนให้ในขณะที่สายการผลิตของ SNRI ยังไม่พร้อม แอนาไฮม์จึงได้พยายามแก้ไขรูปแบบของเฮฟวีกันให้มีพลังในการต่อสู้สูงขึ้นจากข้อมูลที่ได้มา เรียกว่าเฮฟวีกันรุ่นติดอาวุธหนัก แต่เครื่องกำเนิดพลังงานของเฮฟวีกันนั้นมีกำลังไม่มากพอที่จะใช้งานอาวุธบีมที่เพิ่มเข้าไปพร้อมๆกันได้และความคล่องตัวของเฮฟวีกันยังลดลงมาอย่างมากด้วย และในช่วงสงครามซันสคาร โคโลนีอิสระมาซิโดเนียได้ใช้งานเฮฟวีกันรุ่น RGM-109-M5 เป็นกำลังป้องกันตัวเอง แต่แม้ว่ามาซิโดเนียจะปรับปรุงเฮฟวีกันด้านกำลังเครื่องและระบบเซนเซอร์แล้วก็ยังนับว่าล้าสมัยมากจึงไม่สามารถต่อสู้กับ MSของจักรวรรดิซันสคารได้

rgm-109-fet.jpg

RGM-109 Heavygun Powered Weapon Type

First appearance Gundam F91 Mobile Suit Variations
Designer Kunio Okawara

rgm-109m-5.jpg

RGM-109M-5 Heavygun

First appearance Mobile Suit V Gundam
Designer Junya Ishigaki
Head height 15.6 m
Base weight 8.3 t Full weight 22.3 t
Armor gundarium alloy
Powerplant Minovsky type ultracompact fusion reactor
Power output 3075 kW
Armaments

  • beam saber
  • beam rifle
  • shield
Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License