จาเวลิน

RGM-122 Javelin

First appearance Mobile Suit V Gundam
Designer Junya Ishigaki
Head height 14.5 m
Base weight 8.1 t Full weight 16.5 t
Armor gundarium alloy/ceramic composite
Powerplant Minovsky type ultracompact fusion reactor
Power output 3980 kW
Armaments

  • beam saber
  • vulcan gun
  • beam rifle
  • shot lancer
  • beam shield

MSซึ่งแอนาไฮม์อิเล็กทรอนิกส์พัฒนาต่อจากเฮฟวีกันให้สหพันธ์โลก โดยแรกเริ่มนั้นเป็น RGM-119 เจมส์กันรุ่นแรกเริ่มผลิตจำนวน 7 เครื่องซึ่งประจำการที่ฐานแกรนาดาบนดวงจันทร์และสร้างโดยใช้สายการผลิตที่มีอยู่แล้วของเฮฟวีกันกับ Gแคนน่อนและยังไม่มีบีมชิลด์ รุ่นผลิตจริงนั้นแอนาไฮม์ได้เปลี่ยนมาเน้นการใช้งานบนโลกเนื่องจากมีปัญหาที่เครื่องยนต์มีกำลังค่อนข้างต่ำ ซึ่งเจมส์กันรุ่นผลิตจริงนี้เป็น MSรุ่นผลิตจำนวนมากของสหพันธ์รุ่นแรกที่มีบีมชิลด์ป้องกันตัว ข้อดีของเจมส์กันก็คือสามารถปรับแต่งให้ใช้ในพื้นที่ทุรกันดารได้ง่ายจึงมีเจมส์กันประจำการบนโลกเป็นจำนวนมาก จนถึงสงครามซันสคารก็ยังคงมีการใช้งานเจมส์กันอยู่แม้จะใช้เป็นกำลังคุ้มกันฐานที่มั่นเท่านั้น ซึ่งเจมส์กันที่ใช้ในทะเลทรายนั้นเป็นรุ่น RGM-119D ซึ่งมีจำนวนหนึ่งเป็นของหน่วยโฟอเวนเจอร์ที่ได้ร่วมกับลีกมิลิเทียร์เพื่อหยุดยั้งการรุกรานของจักวรรดิซันสคารในพื้นที่แอฟริกา เจมส์กันยังคงสามารถปรับแต่งและเสริมท่อขับดันให้ใช้ในอวกาศได้

แอนาไฮม์อิเล็กทรอนิกส์ได้ดัดแปลงรูปแบบของเจมส์กันต่อมาโดยเน้นการใช้งานในอวกาศเป็น RGM-122 จาเวลิน ซึ่งมีท่อขับดันเสริมอยู่รอบตัวและยังคงแต่งให้ใช้บนโลกได้ง่าย จาเวลินใช้เซนเซอร์แบบสองตาซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเจมส์กัน จาเวลินรุ่นต้นแบบนั้นยังคงใช้ชิ้นส่วนแบบเดียวกับของเจมส์กันและเมื่อสหพันธ์ตกลงซื้อเข้าประจำการนั้นจาเวลินรุ่นแรกก็สามารถดัดแปลงใช้สายการผลิตของเจมส์กันได้ เซนเซอร์ตาสวมครอบแก้วไว้และมีอุปกรณ์ใหม่คือช็อตแลนเซอร์ที่ติดไว้ด้านหลังซึ่งแอนาไฮม์ดัดแปลงจากที่ MSของครอสโบนแวนการ์ดใช้งาน จนกระทั่งหลังจากที่สหพันธ์ตกลงนำจาเวลินเข้าเป็นกำลังหลักแทน แอนาไฮม์ซึ่งเตรียมยุติการผลิตเจมส์กันจึงได้แก้ไขดีไซน์ของจาเวลินเล็กน้อยให้ใช้ชิ้นส่วนใหม่แทน จาเวลินนั้นได้รับการออกแบบให้เป็น MSแบบอเนกประสงค์ที่สามารถเปลี่ยนอุปกรณ์ได้ตามภารกิจโดยเมื่อใช้งานแบบต่อต้านยานรบก็จะเปลี่ยนช็อตแลนเซอร์เป็นเมกาสเปียร์ซึ่งเป็นเหมือนมิสไซล์ขนาดใหญ่ ในช่วงสงครามซีนสคารนั้นจาเวลินจะนับว่าล้าสมัยแล้วโดยเฉพาะกำลังเครื่องที่ยังคงเท่ากับเจมส์กัน แม้จะมีความคล่องตัวที่สามารถรับมือ MSของจักรวรริซันสคารได้แต่นักบินของสพันธ์ส่วนใหญ่นั้นไม่มีฝีมือพอ ในช่วงหลังนี้ยังมีการพัฒนาแบ็คแพ็คบีมแคนน่อนแฝดสำหรับใช้แทนช็อตแลนเซอร์เป็น RGM-122C จาเวลินแคนน่อน โดยมีสองแบบคือลำกล้องเดียวและสี่ลำกล้อง แต่จาเวลินนั้นเป็น MSสำหรับใช้งานทั่วไปและมีกำลังต่ำจึงทำหน้าที่ยิงสนับสนุนได้ไม่ดีนัก

rgm-122-prototype.jpg

Prototype

First appearance Victory Gundam New Mobile Suit Variations
Designer Kunio Okawara

rgm-122-early.jpg

Early Production Type

First appearance Victory Gundam New Mobile Suit Variations

rgm-122c.jpg

RGM-122C Javelin Cannon

First appearance Victory Gundam New Mobile Suit Variations

rgm-122c-4barrel.jpg

4-barrel beam cannon type

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License