เจกันแบบ D

RGM-89D Jegan D Type

First appearance Mobile Suit Gundam UC
Designer Hajime Katoki
Head height 19 m
Base weight 21.3 t Full weight 41.3 t
Armor titanium alloy/ceramic composite
Powerplant Minovsky type ultracompact fusion reactor
Power output 1870 kW
Armaments

  • beam saber
  • vulcan pod
  • beam rifle
  • hand grenade
  • bazooka
  • shield (2-tube small missile launcher)

รุ่นปรับปรุงของเจกันหลังจากที่ได้เป็นกำลังหลักของสหพันธ์โลกแล้ว โดยจุดประสงค์ในการพัฒนาเจกันแบบ Dนี้ก็เพื่อให้สามารถติดอุปกรณ์เป็นสตาคเจกันได้โดยไม่ต้องสร้างใหม่ เจกันแบบ Dจึงมีสมรรถนะทั้งกำลังขับเคลื่อนและระยะเซนเซอร์ที่สูงกว่ารุ่นแรกและก็มีจุดเชื่อมต่อหรือล็อกที่ทำให้ติดตั้งอุปกรณ์เสริมได้ง่ายด้วย ในขณะที่โปรโตสตาคเจกันนั้นเน้นการใช้งานแบบต่อต้านยานรบ สตาคเจกันที่แต่งจากแบบ Dนั้นตั้งใจให้ทำหน้าที่ใช้ยิงสนับสนุนแบบจิมทรีได้ด้วย นอกจากนั้นยังสามารถแต่งเป็น RGM-89DEW EWACเจกันเพื่อทำหน้าที่สอดแนมได้โดยติดเซนเซอร์ยูนิตขนาดใหญ่ไว้ที่หัว ที่แขนขวาติดกล้องขนาดใหญ่และที่แขนซ้ายจะติดระบบสื่อสารแบบเลเซอร์ นอกจากนั้นยังมี RGM-78De ซึ่งเป็นรุ่นปรับแต่งสำหรับหน่วยลับพิเศษ เอคอส โดยถอดวัลแคนพ็อดออกเพื่อเสริมประสิทธิภาพของเซนเซอร์และเสริมเกราะส่วนลำตัวเพื่อให้มีโอกาสรอดจากการสู้รบได้สูงขึ้น และเครื่องของคอนรอย ฮาเกนเซนจะปลี่ยนกระบังที่หน้าผากเป็นเซนเซอร์ที่เลื่อนเปิดปิดได้แบบสไนเปอร์ ติดอาวุธเสริมเป็นมีดติดไหล่ ปืนพกติดขา เปลี่ยนระเบิดมือเป็นแบบไฟเยอร์นัทซ์ และใช้บีมเซเบอร์แบบติดแขน เจกันแบบ Dอีกรุ่นก็คือ RGM-89D-ESC ซึ่งใช้ในภารกิจคุ้มกันหรือคุมตัวบุคคลสำคัญ ส่วนหัวของรุ่นนี้จะไม่มีปืนวัลแคนและใช้ปืนกลสั้น 90 มม.แทนบีมไรเฟิล ส่วนลำตัวนั้นเสริมเกราะคล้ายกับเจกันของหน่วยเอคอส

ในภาค Imaging Builders พี่น้องรีนาโตได้ดัดแปลงกันพลาเจกันแบบ D หลังการแข่งระดับโลกครั้งที่ 7 ให้เป็นเหมือนรุ่นพัฒนาของจิมสไนเปอร์ K9 เรียกว่าโกสท์เจกันซึ่งมีสองเครื่องสำหรับใช้งานคู่กันสองคน เรียกว่า RGM-89GF โกสท์เจกัน F (Fearless) กับ RGM-89GM โกสท์เจกัน M (Meticulous) โกสท์เจกัน Fนั้นทาสีเทาเข้มและเป็นตัวบุกของทีมจึงใช้เซนเซอร์แบบแอ็คทีฟ เกราะไหล่ทั้งสองข้างยังได้รับการแต่งให้แข็งแกร่งขึ้น ส่วนโกสท์เจกัน Mนั้นทาสีเขียวและทำหน้าที่ตัวรับ จึงติดเซนเซอร์แบบพาสซิฟและเสริมความแข็งแกร่งของเกราะลำตัว เดิมทีนั้นมาริโอทาสีโกสท์เจกัน Fเป็นสีดำทึบ แต่หลังจากอุบัติเหตุที่จูลิโอทำพังไปเพราะมองไม่เห็นในห้องมืดๆจึงได้ใช้สีที่สว่างกว่าเดิมนิดหนึ่ง (และชื่อของโกสท์เจกันทั้งสองก็ตั้งตามสองพี่น้องเอง โดยโกสท์เจกัน Fนั้นมาริโอจงใจให้เพี้ยนเป็น Foolio) เมื่อนำมาใช้ในการแข่งกันพลาโลกครั้งที่ 8 โกสท์เจกันทั้งสองก็ได้ติดตั้งระบบไนโตร (NITRO = Newtype Injection Trace Reformed Oldtype) แทน EXAM ของจิมสไนเปอร์ K9 ด้วย เนื่องจากพี่น้องรีนาโตเห็นว่ารูปแบบอาวุธของเจกันนั้นใช้งานได้ง่ายดีอยู่แล้วจึงเพิ่มอาวุธเพียงมีดความร้อนขนาดใหญ่ซึ่งไม่ได้ตั้งใจให้ใช้ในการต่อสู้โดยตรงแต่เป็นเครื่องมือช่วยในการวางกับดักต่างๆมากกว่า นอกจากนั้นแล้วยังสามารถเปลี่ยนแบ็คแพ็คนั้นเปลี่ยนเป็น K9 ด็อกแพ็คได้ และโกสท์เจกัน Mก็สามารถติดอุปกรณ์ติดไหล่ของเจกันแบบ D ได้ด้วย

rgm-89s-1.jpg

RGM-89S Stark Jegan

First appearance Mobile Suit Gundam UC
Designer Hajime Katoki
Head height 19.2 m
Base weight 28.4 t Full weight 68.1 t
Armor gundarium alloy, titanium alloy/ceramic composite
Powerplant Minovsky type ultracompact fusion reactor
Power output 1870 kW
Armaments

  • beam saber
  • vulcan pod
  • beam rifle
  • grenade launcher
  • 3-tube missile pod
  • hyper bazooka
Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License