เฟยเยน
tf-14a.jpg

TF-14A Fei-Yen with VividHeart

First appearance Cyber Troopers Virtual On: Force
Designer Hajime Katoki
Special feature emotional mode
Armaments

  • 'Fool's Charity' rapier
  • fancy blast
  • Vivid Heart

VRรุ่นที่สามซึ่งสืบทอดมาจาก VR-014 ออริจินัลเฟยเยน หรือ ฟายยูป ออริจินัล VR ที่ศจ.ปรเซนจิต พลาจินาพัฒนาโดยใช้ Vคอนเวอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปกติมากจนมีความคิดและเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง ซึ่งบุคลิกของฟายยูปนั้นจะคล้ายกับเด็กหญิงอายุ 14 และเอาแต่ใจพอสมควร ฟายยูปยังสามารถใช้กระบวนการรีเวิร์สคอนเวิร์ตสร้างร่างของตนเองและย้ายไปมาระหว่างโลกภายนอกกับไซเบอร์อิมเมจินารีสเปซได้ ซึ่งฟายยูปนั้นสามารถแปลงสภาพร่าง VR ของตนเองได้ตามใจหรือแม้แต่สร้างร่างแบบมนุษย์ที่ไม่ต่างจากมนุษย์จริงๆเลยได้ ร่าง VR ของฟายยูปนั้นไม่ได้ติดตั้งอาวุธไว้ แต่มีความสามารถยิงลำแสงรูปหัวใจ อีโมชันแนลแอทแท็ค ซึ่งไม่ได้สร้างความเสียหายกับเป้าหมายแต่ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขอย่างมากจนเสียใจสู้ไปและระบบ MSBS ก็จะหยุดทำงานไปด้วย เมื่อบริษัท DN ทราบเรื่องของฟายยูปนั้นก็ได้ส่งกำลังมาควบคุมตัวแต่ฟายยูปก็หนีไปได้และศจ.พลาจินาก็หายตัวไปด้วย บริษัท DN ได้ปิดแพลนท์ 0 ซึ่งใช้พัฒนาฟายยูป รวมถึงลบจากฐานข้อมูลไปพร้อมกับความทรงจำของผู้ร่วมทีมพัฒนากับศจ.พลาจินาทั้งหมดราวกบว่าแพลนท์ 0 นั้นไม่เคยมีมาก่อน แต่ยังเก็บข้อมูลการพัฒนาฟายยูปไว้และนำมาสร้างเลียนแบบเป็น VR แบบทั่วไปในช่วงปฏิบัติการมูนเกตเป็น SRV-14-A เฟยเยน โดยตั้งใจให้ใช้งานเหมือนหน่วยสอดแนมจากที่มีความเร็วสูง โดยได้ติดอาวุธใหม่เข้าไปเป็นธนูบีมที่สามารถพับมาใช้เป็นดาบได้ ทั้งยังสามารถยิงบีมจากมือและบีมนำวิถีจากลำตัวได้ แต่เฟยเยนเลียนแบบนั้นก็นับว่ามีพลังป้องกันที่ต่ำและอาวุธก็ไม่มีประสิทธิภาพนัก แต่เฟยเยนเลียนแบบนั้นสร้างจากแปลนของศจ.พลาจินาโดยที่มีการทำงานหลายๆส่วนที่ไม่เข้าใจการทำงานเลยด้วยซ้ำ ซึ่งทำให้บีมนำวิถีที่หน้าอกนั้นยิงออกไปเป็นรูปหัวใจ และเมื่อเฟยเยนได้รับความเสียหายถึงระดับหนึ่งก็จะเปิดไฮเปอร์โหมดซึ่งทำให้สมรรถนะของเฟยเยนสูงขึ้นรวมถึงพลังทำลายของอาวุธ

ใตอนที่กลุ่ม RNA แยกตัวออกมาหลังปฏิบัติการมูนเกตนั้นก็ใช้ข้อมูลของเฟยเยนพัฒนาต่อมาเป็น VR รุ่นที่สอง RVR-14 เฟยเยนเดอะไนท์ โดยตั้งใจให้ใช้เป็น VR ความเร็วสูงพร้อมกับเน้นด้านการประสานงานประมวลข้อมูลในสนามรบ เนื่องจากเป็น VR ที่ RNA พัฒนาเป็นรุ่นแรกจึงยังใช้ตาแบบแว่นครอบแทนที่จะเป็นแบบสองตา และเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการผลิตยังค่อนข้างสูงโดยปกติแล้วจึงให้นำไปใช้ในภารกิจสำคัญเท่านั้น ชื่อเดอะไนท์นั้นแผลงมาจากที่ใช้รูปแบบของเครื่องต้นแบบหมายเลข 9 (ไนน์) ตัวเครื่องของเฟยเยนเดอะไนท์นั้นเล็กกว่ารุ่นแรกเล็กน้อย อาวุธนั้นเปลี่ยนจากธนูบีมเป็นกระบี่เรเปียร์ซึ่งจะแผ่พลังงานออกมาในตอนที่ฟันโจมตีและก็สามารถฟันเป็นคลื่นโจมตีจากระยะห่างได้ รวมถึงสามารถวาดบีมรูปหัวใจยิงออกไปได้เช่นกัน ส่วนบีมจากมือนั้นเน้นให้ยิงได้ต่อเนื่อง เกราะแขนขวาของเฟยเยนเดอะไนท์นั้นเป็นลิมิเตอร์ซึ่งเมื่อปิดการทำงานก็จะบังคับให้เปิดไฮเปอร์โหมดได้ตามต้องการโดยจะเกิดความเสียหายกับตัวเครื่อง ซึ่งเวลาเปิดไฮเปอร์โหมดนั้นระบบก็จะสร้างสนามพลัง V อาเมอร์ใหม่โดยอัตโนมัติซึ่งช่วยชดเชยจุดอ่อนด้านพลังป้องกันได้

ในช่วงสงครามดาวอังคาร เมื่อลิลิน พลาจินา ซึ่งเป็นลูกสาวของศจ.พลาจินาตั้งบริษัททรานส์ AFG และผลิต VR จำหน่ายเองนั้นก็ได้รับความร่วมมือจากฟายยูปที่คอนกำจัดชาโดว์ในไซเบอร์อิมเมจินารีสเปซและถือว่าลิลินเป็นเหมือนพี่สาวให้พัฒนาเฟยเยนรุ่นที่สาม โดยมีรูปแบบพื้นฐานคือ TF-14A เฟยเยนวิธวิวิดฮาร์ท ซึ่งใช้รูปแบบของเฟยเยนเดอะไนท์ แต่บีมที่ยิงจากมือนั้นเน้นด้านพลังทำลายต่อนัดแทนการยิงต่อเนื่อง ลิลินนั้นได้เลือกใช้ลักษณะภายนอกแบบชุดเมดซึ่งฟายยูปไม่ชอบ เฟยเยนวิธวิวิดฮาร์ทนั้นพัฒนาต่อมาเป็น TF-14C เฟยเยนวิธพานิคฮาร์ท ซึ่งเดิมนั้นออกแบบให้ร้อยโทเรมิ แฟนโซลาใช้ในปฏิบัติการอันทัชเอเบิลและใช้ธนูบีมที่พับเป็นดาบได้เหมือนเฟยเยนเลียนแบบรุ่นแรก บีมที่ยิงจากมือยังเปลี่ยนกลับไปเป็นแบบยิงต่อเนื่องของเฟยเยนเดอะไนท์ และในระหว่างปฏิบัติการนี้ร้อยโทเรมิได้เอาดาบของคาเงะคิโยะมาใช้แทนธนูที่พังไป เนื่องจากเป็นการต่อสู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากทีเดียว ลิลินจึงได้สร้างมาเป็น TF-14B เฟยเยนวิธบลูฮาร์ท ซึ่งมีเกราะหนากว่าปกติและเน้นการต่อสู้ในระยะประชิดตัว ซึ่งดาบขนาดใหญ่มากของเฟยเยนวิธบลูฮาร์ทนั้นฟายยูปเป็นคนแก้รูปแบบเอง ส่วนทวินเทลจะสั้นกว่ารุ่นอื่นๆตามความเสียหายในตอนที่เรมิต่อสู้ สุดท้ายก็คือ TF-14M เฟยเยนวิธซินเดอเรลลาฮาร์ท ซึ่งตั้งใจให้ดูเหมือนสาวเสิร์ฟโดยมีอาวุธคล้ายกับถาดเสิร์ฟอาหาร และรวมเอาจุดเด่นของสามเครื่องเข้าด้วยกัน

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License